รอยต่อระหว่างจิตไม่ว่างกับจิตว่างเป็นอย่างไร |
|
|
|
เขียนโดย Administrator
|
วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 02:28 น. |
ตอนบริกรรมจะหายไป สำหรับผู้เริ่มฝึกหัดนี่ มันจะเกิดมีอาการเคลิบเคลิ้ม ใจลอยๆ เหมือนกับจะง่วงนอน เหมือนกับจะหลับ ถ้าหากว่าจิตสงบ มันก็จะวูบลง เหมือนกับกระโดดจากที่สูงลงไปสู่ที่ต่ำ นี่ ตรงนี้ หัวเลี้ยวหัวต่อ พอมันวูบลงไป พอหยุดวูบ นิ่งปั๊บ ทางแยกมี ๒ ทาง ทางหนึ่งนอนหลับ อีกทางหนึ่งไปเป็นสมาธิ ก็รู้สึกตัวขึ้นอีกภาวะหนึ่ง บางทีรู้สึกตัวแล้วก็สว่างโพล่งขึ้น บางทีก็เพียงแต่รู้สึกตัวแจ่มๆ กระหยิ่มๆ อยู่
บางท่านบริกรรมภาวนาไป จิตก็ค่อยๆ สงบๆๆๆ แล้วมันก็หยุดบริกรรมภาวนาเอง บางทีไปรู้ว่าจิตหยุดบริกรรมภาวนา เกิดเอะใจ สมาธิถอน
อาการวูบวาบอะไรต่างๆ นี่ มันจะเกิดขึ้นสำหรับผู้เริ่มฝึกภาวนาต่างหาก แต่ถ้าหากว่าปฏิบัติไปจนคล่องชำนิชำนาญ จิตมีพลัง มีสติสัมปชัญญะ มันจะค่อยสงบๆๆๆ สงบไปพร้อมกับความคิดที่ปรุงแต่ง
บางทีพอมันหยุดคิด มันนิ่งปั๊บ พอมันนิ่งแล้ว บางทีมันก็ นิ่งๆๆๆ ไป จนกระทั่งไปถึงระยะที่ร่างกายตัวตนหาย บางทีพอนิ่งว่างสักพักหนึ่ง มันจะเกิดความรู้ผุดขึ้นๆๆ ที่เรากำหนดรู้อารมณ์จิต คือความคิดที่เราตั้งใจกำหนดรู้ มันเป็นสมาธิที่มีวิตก วิจาร โดยความตั้งใจ หรือบริกรรมภาวนาอยู่ มันก็เป็น วิตก วิจาร โดยความตั้งใจ
ทีนี้พอจิตมันวูบจะไปนิ่งพั้บ ถ้ามันจะเป็นสมาธิทางฌานสมาบัติ มันก็ได้แต่นิ่งๆๆๆ ไปเฉยๆ ถ้ามันจะไปในทางอริยมรรค อริยผล พอจิตสงบ มันตัดกระแสแห่งอารมณ์เดิมขาดไป มันจะว่างอยู่พักหนึ่ง แล้วก็เกิดวิตกขึ้นมา วิตกคือความคิดที่มันผุดขึ้นมา วิจารคือสติที่รู้พร้อมอยู่ในขณะจิตนั้น แล้วความคิดมันจะคิดเรื่อยเปื่อยไป สติก็จะไล่ตามรู้ๆๆๆ ไป พอหนักๆ เข้า กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ เกิดปีติ เกิดความสุข ความคิดยิ่งเร็วขึ้นๆๆๆ พอไปถึงจุดๆ หนึ่ง มันจะนิ่งพั้บลงไป สว่างไสว แล้วมันจะมีปรากฏการณ์ให้จิตรู้ เกิดขึ้น ดับไป เกิดขึ้น ดับไป อยู่เรื่อย บางทีก็เป็นเงาๆ เหมือนขี้เมฆไหลผ่านไปผ่านมา แล้วจิตก็ตั้งมั่น นิ่ง เด่น สว่างไสว มันไปถึงจุด ฐีติภูตัง ของหลวงปู่มั่น
|
คอมเมนต์คอมเมนต์
ancor
ancor
ติดตามคอมเมนต์นี้ในรูปแบบ RSS feeds