A Free Template from Joomlashack

A Free Template from Joomlashack

แบบสำรวจ

ท่านกำลังใช้ระบบปฏิบัติการ (OS) อะไรอยู่ ?
 

Search

ผู้เข้าเว็บขณะนี้

เรามี 55 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

JComments Latest

  • цена любого спина vavada vavada qfo2 xyz: https://...
  • https://pillbar.ru
  • canadian pharmacy cialis supreme suppliers online ...
  • generic erectile dysfunction
  • https://my-viagra-shop.ru/vliyanie-kofe-na-potenci...
คดีโลก-คดีธรรม ไปด้วยกันได้ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย Administrator   
วันพุธที่ 09 มกราคม 2013 เวลา 06:53 น.

 

หลวงพ่อพุธ  ฐานิโย

 

          เมื่อก่อนพระสงฆ์เราเทศน์นี่ เราชอบใช้คำว่า "คดีโลก คดีธรรม" ทำให้ชาวพุทธทั้งหลายเข้าใจว่าโลกกับธรรมนี่เข้ากันไม่ได้ ต้องหันหลังให้กัน   นี่ เข้าใจกันไปอย่างนี้


           คำว่า "คดีโลก" และ "คดีธรรม"  หมายเฉพาะเพียงแค่การดำรงชีวิตเท่านั้น


           ชาวบ้านดำรงชีวิตอยู่ด้วยการทำงานเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม


           พระ  ดำรงชีพอยู่ด้วยการบิณฑบาตจากศรัทธาของชาวบ้าน


          ทีนี้ โยมทั้งหลายนึกสนุกจะถือบาตรไปเที่ยวบิณฑบาตอย่างพระ  มันก็ผิดคติ  ผิดทางดำเนิน


          พระทั้งหลาย  จะไปทำมาค้าขายอย่างคฤหัสถ์   มันก็ผิดทางดำเนินชีวิตของพระ


          มันอยู่กันเพียงแค่นี้เท่านั้น

          แต่ความจริงมันน่าจะจำแนกธรรมะออกเป็น ๒ ประเภท


          ประเภทหนึ่ง ธรรมะที่เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ มันกำหนดหมายตั้งแต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในจักรวาลนี้ ตั้งแต่ อณู ปรมาณู จนกระทั่งมวลสารที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่โต กาย-ใจมนุษย์ สถานการณ์และสิ่งแวดล้อม วิชาความรู้ที่เรียนมาในศาสตร์นั้นๆ ทั้งทางชาวบ้านและทางศาสนา มันเป็นสภาว-ธรรม มันเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ


          ถ้าจะรวมลงในหลักธรรมะก็คือ สังขาร ๒
          - อุปาทินนกสังขารได้แก่สังขารที่มีใจครองได้แก่ คน สัตว์ เป็นต้น
          - อนุปาทินนกสังขารได้แก่สิ่งที่ไม่มีใจครอง ได้แก่ ดินฟ้าอากาศ ต้นไม้ ภูเขา รถ เรือน เป็นต้น


           สิ่งที่เราเรียกว่าสังขารนั้นแหละ  คือ สภาวธรรม  เป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ


         ธรรมะอีกประเภทหนึ่ง คือ ธรรมะอันเป็นคำสอน    ธรรมะอันเป็นคำสอนที่เป็นพุทธบัญญัติจริงๆ หมายถึง ศีล   สมาธิ และปัญญา อันเป็นอุบายวิธีที่อบรมจิตให้เกิดมีพลังงาน

         ธรรมะที่ชื่อว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น บางอย่างอาจมีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดก็ได้ ธรรมะก่อนพระพุทธเจ้าเกิด  นั้นหมายถึงสภาวธรรม


          กฎธรรมชาติของสภาวธรรมที่จะพึงเป็นไปตามกฎแห่งความเป็นจริง เราเรียกว่า กฎพระไตรลักษณ์  หมายถึง


          อนิจจตา - ความไม่เที่ยง
          ทุกขตา - ความเป็นทุกข์
          อนัตตตา - ความไม่เป็นตัวของตัว    หรือไม่ใช่ตัว  ไม่ใช่ตน


          ตามที่ภาษาวิทยาศาสตร์ว่า ทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้
          ย่อมมีปรากฏขึ้นในเบื้องต้น
          ทรงตัวอยู่ขณะหนึ่ง
          ในที่สุดย่อมสลายตัว


        เพราะฉะนั้น   ในเมื่อเราทำความเข้าใจในกฎของธรรมชาติ   ในกฎของสภาวธรรม   เราจะได้ความว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป

         ที่เรายอมรับว่าสิ่งเหล่านี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็เพราะเหตุว่า พระพุทธเจ้าทรงรู้กฎแห่งความจริงอันนี้ แล้วนำมาตีแผ่ให้ชาวโลกได้รู้ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าในฝ่ายสภาวธรรม ซึ่งเป็นไปตามกฎธรรมชาติ


          สภาวธรรมอันนี้ พระพุทธเจ้าจะเกิดก็ตาม ไม่เกิดก็ตาม
          จะมีก็ตาม ไม่มีก็ตาม
          เขาก็ย่อมมีอยู่โดยธรรมชาติแล้วแต่ไหนแต่ไรมา

         ศาสนาพุทธเป็นปรัชญาชั้นสูง พระพุทธเจ้าสอนให้เราเรียนรู้ธรรมชาติและกฎของธรรมชาติ*
         ธรรมชาติ หมายถึง สภาวธรรม
         กฎของธรรมชาติที่ตายตัวก็คือ  ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งนั้นๆ  คือ กฎพระไตรลักษณ์นั่นเอง


*ธรรมชาติ  คือ  โลก

กฎของธรรมชาติ  (เช่น กฎไตรลักษณ์)  คือ ธรรม   (ผู้เรียบเรียง)

 

 

แก้ไขล่าสุด ( วันพุธที่ 09 มกราคม 2013 เวลา 08:03 น. )
 
 

Joomla 1.5 Templates by Joomlashack